วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

การจำแนกสายพันธ์ไส้เดือน

การจำแนกสายพันธุ์

สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นิยมใช้ทางการค้าและเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะ

อายซิเนีย ฟูทิดา ( Eisenia foetida )
ชื่อสามัญ The Tiger worm , Manure Worm , Compost Worm

ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ อายซิเนีย ฟูทิดา เป็นไส้เดือนสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรงซึ่งมีลักษณะทั่วไป ดังนี้

- ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร
- ลำตัวมีสีแดง ร่องระหว่างปล้องและบริเวณปลายมีสีเหลือง
- มีอายุยืนยาว 4 - 5 ปี แต่มักอยู่ได้ 1- 2 ปี เมื่อเลี้ยงภายในบ่อ
- สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
- สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 150 – 198 ถุง/ตัว/ปี
- สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี
- ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32 – 40 วัน ( ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่
- ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 3 – 6 เดือน ( ขึ้นอยู่กับฤดูกาล )
- อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก

โดยทั่วไปประเทศในแถบยุโรป และ อเมริกา ส่วนมากมักจะใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida
หรือ สายพันธุ์ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenia Andrei ใน การกำจัดขยะอินทรีย์ซึ่งมีหลายเหตุผลที่ทำให้เลือกใช้ใส้เดือนดินสายพันธุ์ นี้ คือไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์อยู่ โดยพวกมันจะสร้างกลุ่มและเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น และมีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่กว้างและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วจะเป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีมากและ เลี้ยงง่ายเหมาะสมในการนำมาเลี้ยงในขยะอินทรีย์ได้หลายชนิดที่ปะปนกันและพบ ว่าเมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์อื่นภายในฟาร์ม พบว่า จะมีความทนทานมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นๆ

ยูดริลลัส ยูจีนิแอ  ( Eudrilus eugeniae )

ชื่อสามัญ African Night Crawler

- ลำตัวมีขนาด 130 – 250 x 5 – 8 มิลลิเมตร
- ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา
- สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
- จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
- สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162 – 188 ถุง/ตัว/ปี
- ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13 – 27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
- ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6 – 10 เดือน
- อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร
- มีอายุยืนยาว 4 – 5 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ African Night Crawler มี ขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและไต่ขึ้นขอบบ่อได้เก่งมาก มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนสำหรับ เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์สูงมากแต่มีข้อเสียตรงที่ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ไม่ค่อยทนทานต่ออุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมเลี้ยงยากและ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วยสำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อน โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียล ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยเขตหนาวจะถูกจำกัดการ เลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะ เลี้ยงได้ สำหรับการเลี้ยงแบบภายนอกโรงเรือน จะเหมาสมกับเฉพาะพื้นที่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนเท่านั้น

ลัมบริคัส รูเบลลัส ( Lumbricus rebellus )

ชื่อสามัญ Red worm , Red Marsh Worm , Red Wriggler
ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ ลัมบริคัส รูเบลคัส รูเบลลัส เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวแบนและมีลำตัวขนาดกลางไม่ใหญ่มาก โดยจะมีลำตัวใหญ่กว่าไส้เดือนินสายพันธุ์อายซิเนีย ฟูทิดา และเล็กกว่าไส้เดือนดิน สายพันธุ์อัฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์

- ลำตัวมีขนาด 60 – 150 x 4 – 6 มิลลิเมตร
- ผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่องระหว่างปล้องมีสีเหลือง
- เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์
- กินเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหาร
- สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง
- จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
- สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79 – 106 ถุง/ตัว/ปี
- ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 24 – 45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
- ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5 – 6 เดือน
- มีชีวิตยืนยาว 2 – 3 ปี

ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์หรือกากสิ่งปฏิกูล ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื้นในช่วงกว้าง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก กินเศษซากอินทรียวัตถุได้มากและเร็ว เป็นไส้เดือนดินพันธุ์การค้าที่มีความเหมาะสมและนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะ อินทรีย์เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักในต่างประเทศ

ฟีเรททิมา พีกัวนา ( Pheretima peguana )

ชื่อท้องถิ่น  ขี้ตาแร่
ไส้เดือนดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา  เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับใส้เดือนสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ครอเลอร์

- ลำตัวมีขนาด 130 – 200 x 5 – 6 มิลลิเมตร
- ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม
- สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
- จับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน
- สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 24 – 40 ถุง/ตัว/ปี
- ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25 – 30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่
- ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 5 – 6 เดือน
- อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลาย และมูลสัตว์เป็นอาหาร
- มีอายุยืนยาว 2 – 4 ปี

ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในแถบเอเซีย ซึ่งในประเทศไทยก็พบเช่นกัน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดิน ที่มีลำตัวขนาดกลาง อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมาก เช่นใต้กองปุ๋ยหมัก ใต้กองมูลวัวในโรงเลี้ยงวัวนม ใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้ง โดยจะอาศัยอยู่บริเวณผิวดินไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับไส้เดือนพันธุ์ สีเทา ที่จะอาศัยอยู่ในสวนผลไม้ หรืออยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ไส้เดือนพันธุ์นี้โดยทั่วไปในภาคเหนือ เรียกว่า “ขี้ตาแร่” ซึ่งชาวบ้านมักใช้เป็นเหยื่อตกปลา ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ คือมีความตื่นตัวสูงมาก เมื่อถูกจับตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้การนำไปใช้กำจัดขยะอินทรีย์ พบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้สามารถกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ หมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งจาการทดลองนำไส้เดือนสายพันธุ์ ขี้ตาแร่  มากำจัดขยะ จะถูกย่อยหมดภายใน 2-3  วัน นอกจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กินอาหรแก่งแล้วยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

ฟีเรททิมา โพสธูมา ( Pheretima posthuma )

ชื่อท้องถิ่น ขี้คู้
ไส้เดือน ดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา โพสธูมา เป็นไส้เดือนดินสีเทาที่มีลำตัวกลมขนาดใหญ่ โดยมีขนาดใหญ่กว่า ไส้เดือนแดงพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา

- ลำตัวมีขนาด 200 – 250 x 6 – 10 มิลลิเมตร
- ลำตัวมีสีเทาวาว
- สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
- อาศัย อยุ่บริเวณผิวดินในฤดูฝน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย ในฤดูร้อนและฤดูหนาวจะอาศัยอยู่ในดินที่ลึกลงไปและกินดินหรืออินทรียวัตถุใน ดินที่เน่าเปื่อย
- เข้าสู่สภาพการหยุดนิ่ง ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
- มีอายุยืนยาวหลายปี

ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้มักพบอยู่ใต้ดินภายในสวน สนามหญ้า หรือพื้นดินในป่า ซึ่งลำตัวจะมีสีเทาผิวเป็นมันวาว สะท้อนกับแสงอาทิตย์จะออกเป็นสีรุ้ง เมื่อจับจะดิ้นอย่างรุ่นแรง และเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วมาก แพร่พันธุ์และเจริญเติบโตได้น้อย อาศัยอยู่ในดินที่ค่อนข้างลึก และจะขุดรูแบบชั่วคราว จากลักษณะนิสัยดังที่กล่าวไส้เดือนสายพันธุ์นี้ ไม่เหมาะในการนำมาใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์

ลัมบริคัส เทอเรสทริส ( Lumbricus terrestris )

ชื่อสามัญ Nightcrawler

- ลำตัวมีขนาด 90 – 300 x 6 – 10 มิลลิเมตร
- ผิวบริเวณท้องมีสีเทาขุ่น ผิวบริเวณด้านหลังมีสีเทา
- เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม แอนเนซิค
- กินเศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยที่อยู่ใต้ดินและดินบางส่วนที่เป็นอาหาร
- อาศัยอยู่ในรูที่ถาวร ที่ความลึก 2.4 เมตร
- สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง
- สร้างถุงไข่ได้ 38 ถุง/ตัว/ปี
- ใช้เวลาเติบโตเต็มไวประมาณ 1 ปี
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 862-887 วัน หรือมากกว่า 6 ปี
- สามารถแพร่กระจายกลุ่มได้ประมาณ 3 – 5 เมตร/ปี

โพลีฟีเรททิมา อีลองกาตา ( Polypheretima elongate )

ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้เคยนำมาทดลองใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ เช่น ขยะที่ได้จากเทศบาลขยะหรือของเสียที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ ของเสียจากมนุษย์ สัตว์ปีก มูลวัว และเศษเหลือทิ้งจากการผลิตเห็ดในอินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียได้ใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในการทำปุ๋ยหมักทางการค้า ที่สะดวกและได้ผลดีโดยสามารถย่อยสลายขยะที่เป็นกากได้ 8 ตัน/วัน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้พบเฉพาะในเขตร้อน และไม่สามารถดำรงชีวิตรอดได้ในเขตหนาว

เดนโดรแบนา วีนาตา ( Dendrobaena veneta )

ไส้เดือน ดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดใหญ่ และมีศักยภาพพอสำหรับนำไปใช้ในขบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่ในดิน เจริญเติบโตได้ช้าและแพร่พันธุ์ได้ไม่ค่อยเร็วนัก ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ไม่เหมาะสมหรือมีความเหมาะสมน้อยมากสำหรับนำไปใช้ใน การย่อยสลายขยะอินทรีย์

เพอริโอนีกซ์  เอกซ์คาวาตัส ( Perionyx excavatus )

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป้นไส้เดือนดินในเขตร้อน ซึ่งขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเลี้ยงง่ายเหมือนกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida และ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักได้ง่ายมาก แต่มีข้อเสียคือ มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ค่อนข้างต่ำ สำหรับการเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในเขตหนาว แต่ในสภาพเขตร้อน จะเหมาะสมมากสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในเอเชีย และมีการนำมาใช้ในขบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในประเทศฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย